กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงได้สนับสนุนให้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง และให้มีการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล/อำเภอ เพื่อรวบรวมสภาพปัญหา ความต้องการของตำบล/อำเภอ มาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และกำหนดเป้าหมาย ทิศทางในการพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี ได้ผลักดันให้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน จัดทำแผนชุมชนของจังหวัดราชบุรี ซึ่งได้ดำเนินการครบแล้วทุกหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 1,005 หมู่บ้าน และได้พยายามจัดทำการบูรณการแผนชุมชนระดับ ตำบล อำเภอ และจังหวัด ขึ้นมาตามลำดับ ข้อมูลที่ปรากฏต่อไปนี้ เป็นเพียงการบูรณาการแผนชุมชนระดับอำเภอในจังหวัดราชบุรี ปี 2552 เท่านั้น ยังไม่ใช่ข้อมูลการบูรณาการแผนชุมชนระดับจังหวัดราชบุรี
การบูรณาการแผนชุมชนระดับอำเภอในจังหวัดราชบุรี ปี 2552
อำเภอบ้านโป่ง
ยุทธศาสตร์- พัฒนาคุณภาพการผลิตและเพิ่มรายได้
- ยกระดับคุณภาพชีวิตและความผาสุกของประชาชน
- พัฒนาความสมบูรณ์และคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- สร้างสรรค์สังคมอุดมปัญญา
- เสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหาร และการบริการ
- มีที่ดินเหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรม
- มีน้ำเพียงพอสำหรับทำเกษตรกรรม
- ขาดความรู้เรื่องการพัฒนาคุณภาพผลผลิต
- ขาดตลาดรองรับ หรือตลาดกลางรับซื้อ
- มีการส่งผลผลิตที่สะดวก
- อยู่ไม่ไกลแหล่งรับซื้อผลผลิต
- ขาดสถานที่รวบรวมสินค้า/ผลผลิต
- ไม่มีตลาดกลางที่ประกันราคา/คุณภาพสินค้า
- ผลผลิตได้ราคาสูง
- มีระบบประกันราคาที่ได้มาตรฐาน
- คนในชุมชนช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม
- ด้านเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ รายได้ รัฐบาลเข้ามาดูแลเรื่องหนี้สินเกษตรกร ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี อาชีพเสริมในหมู่บ้าน วิทยากรให้ความรู้ด้านการผลิต
ยุทธศาสตร์
- การพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร การค้าและบริการ
- ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
- พัฒนาความสมบูรณ์ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
- มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีน้ำตลอดปี มีคลองมากกว่า 200 สาย เหมาะสำหรับการทำเกษตร
- ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ยิ้มแย้มแจ่มใส มีมิตรไมตรี และมีจิตใจเอื้ออารี
- พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และวิถีชนบท
- มีผลผลิตที่เป็นพืชผักผลไม้ที่มีคุณภาพ
- ปัญหาความแตกต่างของรายได้ประชาชน
- มีการใช้สารเคมีในการผลิตสินค้าเกษตรค่อนข้างสูง
- การจัดการสิ่งแวดล้อมยังมีประสิทธิภาพต่ำ
- เกษตรกรยังขาดความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
- มีตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้สูง
- มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
- อยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร
- มีแหล่งโบราณสถานที่สำคัญ
- มีส่วนราชการให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ
- วิกฤตทางเศรษฐกิจทั่วโลกมีผลกระทบกับชุมชน
- วัฒนธรรมสมัยใหม่มีผลกระทบกับวัฒนธรรม ประเพณี สมัยเก่าที่จะเลือนหายไป
- ปัญหาเรื่องยาเสพติด ความสงบเรียบร้อย และความมั่นคง
- ปัญหาเรื่องมลพิษ ขยะมูลฝอย น้ำเน่าเสีย
- การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลบ่อยๆ
- ด้านครอบครัวและชุมชน คนด้อยโอกาส คนเรร่อน ส่งเสริมอาชีพคนด้อนโอกาส ดูแลคนพิการในหมู่บ้าน เช่น เบี้ยยังชีพ
- ด้านสุขภาพอนามัย โรคภัยไข้เจ็บ การรักษาพยาบาล ส่งเสริมการออกกำลังกาย เช่น จัดหาอุปกรณ์กีฬา มีการตรวจสุขภาพประจำปี มีสถานที่พักผ่อน จัดสถานที่พักผ่อน
ยุทธศาสตร์
- ไม่ปรากฎข้อมูล
- ระบบชลประทานดี
- ผลผลิตทางเกษตรมีมาตรฐานส่งออกได้
- มีแหล่งท่องเที่ยว
- มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี
- มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนตัวอย่างระดับจังหวัด
- ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง
- การแพร่กระจายของยาเสพติด
- น้ำเสีย
- ระบบกำจัดขยะ
- แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตื้นเขิน
- ประชาชนมีรายได้น้อย
- ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง
- มีการระบาดของโรคติดต่อและศัตรูพืช
- ผลผลิตขาดตลาดรองรับ
- ขาดความสามัคคีในชุมชน
- ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ประชาชนขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ
- มีกองทุนพัฒนาชุมชนโรงไฟฟ้าราชบุรี
- นโยบายโครงการชุมชนพอเพียง
- มีงบประมาณตามแผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี
- มีกองทุนชุมชนต่างๆ มาก
- มีกระแสอาหารปลอดภัย
- ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้สินค้าและต้นทุนการผลิตมีราคาสูง
- ราษฎรยึดกระแสทุนนิยมและวัตถุนิยม
- ไม่ปรากฏข้อมูล
ยุทธศาสตร์
- ไม่ปรากฏข้อมูล
- ไม่ปรากฏข้อมูล
- น้ำเสีย
- ขาดแคลนน้ำ
- ไม่ปรากฏข้อมูล
- ไม่ปรากฏข้อมูล
ยุทธศาสตร์
- พัฒนาคุณภาพการผลิต และเพิ่มรายได้
- ยกระดับคุณภาพชีวิตและความผาสุกของประชาชน
- สังคมมีความสามัคคี สมานฉันท์ ใสสะอาด มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
- มีองค์กรด้านการศึกษา เรียนรู้ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่พร้อมให้การสนับสนุนด้านวิชาการ
- โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคทั่วถึง
- สภาพภูมิประเทศเอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
- มีทรัพยากรการท่องเที่ยวพร้อมพัฒนา
- มีสินค้าและผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
- มีพื้นที่รองรับการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม
- มีสถานบริการสาธารณสุขครอบคลุมทุกพื้นที่
- มีแหล่งสนับสนุนเงินทุน เช่น สถาบันการเงิน
- ปัญหาสิ่งแวดล้อม น้ำเสีย กลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง มลภาวะทางอากาศ ขยะมูลฝอย
- ปัญหาสังคมด้ายความยากจน เด็กคนชราถูกทอดทิ้ง ไม่มีที่อยู่อาศัย ขาดที่ทำกิน การล่วงละเมิดทางเพศ ยาเสพติด ลักขโมย มีแรงงานนอกระบประกันสังคม ความขัดแย้งในชุมชน ขาดความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่
- ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านหนี้สินนอกระบบ แรงงานไร้ฝีมือ ไม่มีตลาดรองรับสินค้าแปรรูป ไม่มีมาตรฐานการผลิตสินค้า
- ขาดการวางระบบผังเมืองครอบคลุมทั้งอำเภอ
- ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องมีหลักธรรมาภิบาล
- มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนา
- มีแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพประชากร สินค้าและบริการ
- มีตลาดรองรับสินค้าเกษตรอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงฃ
- พื้นที่อยู่ไม่ไกลกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจ
- ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดปัญหาการว่างงาน
- ขาดความต่อเนื่องในด้านนโยบายและขาดแคลนบุคลากรภาครัฐ
- ไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าเกษตรได้
- ขาดการบูรณาการเพื่อการมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชน และประชาชนในการบริหารจัดการและดำเนินการต่างๆ
- มีพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ น้ำท่วมขัง และแล้งซ้ำซาก
- แรงงานต่างด้าว กระทบความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย และสุขภาพอนามัยของประชาชน
- ระเบียบกฎเกณฑ์ ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา ขาดการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัด
- ขาดจิตสำนึกในการดูแลตนเองและสภาพแวดล้อม ด้ายสุขภาพอนามัย ทำให้โรคไม่ติดต่อสูงขึ้น ปัญหาโรคไข้เลือดออก
- ไม่ปรากฏข้อมูล
ยุทธศาสตร์
- ไม่ปรากฏข้อมูล
- ผู้นำในหมู่บ้าน ประชาชน ส่วนราชการในพื้นที่บ้านคา ต่างเล็งเห็นความสำคัญของปัญหา
- ดินเสื่อม
- วัชพืชในแหล่งน้ำหนาแน่นมาก และเกิดการเน่าเสีย
- พื้นที่ป่าลดลง เกิดจากการที่เกษตรกรถางป่าเพื่อใช้พื้นที่ทำเกษตร
- ผลผลิตทางการเกษตรมีสารเคมีเจือปน
- ไม่ปรากฏข้อมูล
- ประชาชนขาดความรู้ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ประชาชนรับรู้ข่าวสารไม่ทั่วถึง
- ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ ทำให้การพัฒนามีข้อจำกัดตามไปด้วย
- ประชาชนยึดติดกับค่านิยมแบบเดิมๆ ไม่เปิดรับสิ่งแปลกใหม่
- หน่วยราชการ ผู้นำหมู่บ้าน ตลอดจนประชาชน ยังขาดความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ต้องใช้ระยะเวลานานในการแก้ไขปัญหา
- ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี อบอุ่น มีความสุข ประสบความสำเร็จ
- เศรษฐกิจดี มีอาชีพที่มั่นคง รายได้สมดุลกับรายจ่าย ไม่มีหนี้สิน
- สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนดี มีทุนในการประกอบอาชีพ มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ
- เยาวชนรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทย มีการสืบทอด
- เด็กได้รับการศึกษา มีทุนการศึกษา
- คนชรามีหลักประกันคุณภาพชีีวิต
- มีถนน ไฟฟ้า นำประปา ใช้ทุกครัวเรือน
- ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาดี ได้รับการประกันราคา
- สินค้าด้านอุปโภคและบริโภค มีการควบคุมราคาและไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
ไม่ปรากฏข้อมูล
อำเภอสวนผึ้ง
ยุทธศาสตร์- ไม่ปรากฏข้อมูล
- เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
- ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในอำเภอสวนผึ้งจำนวนมาก ทำให้เกิดร้านค้าริมทาง
- ในอำเภอมีผู้นำที่หลากหลายด้านต่างๆ และมีความเข้มแข็ง เช่น ผู้ใหญ่บ้าน อบต.และกลุ่มต่างๆ
- มีความไว้เนื้อเชื่อใจในตัวผู้นำ
- ประชาชนมีการใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่าเดิม
- ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากท้องถิ่น
- มีแผนชุมชนครบทุกหมู่บ้าน
- มีการบุกรุกพื้นที่ทำกินและพื้นที่ภูเขา
- ขาดการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
- ประชาชนยังขาดการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม
- การรวมกลุ่มไม่ค่อยยั่งยืน
- พื้นที่ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ทำให้น้ำไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร
- ขาดแหล่งน้ำ
- เป็นพื้นที่แห้งแล้ง
- มีการตัดไม้ทำลายป่าจากผู้มีอิทธิพล
- ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ เช่น SML ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ได้มีโอกาสนำมาสร้างและพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญ
- ได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ในฐานะเป้าหมายหมู่บ้านยากจนยิ่ง ปี 2550-2551
- ค่าครองชีพสูง
- ต้นทุนการเกษตรมีราคาสูง เช่น น้ำมัน ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ไม่คุ้มกับการลงทุน
- ราคาผลิตผลมีราคาไม่คุ้มกับการลงทุน
- ประชาชนบางส่วนยังไม่เข้าใจในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากมีเทนชคโนโลยีสมัยใหม่มากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์
- ลดการตัดไม้ทำลาายป่า
- เศรษฐกิจในหมู่บ้านดี ประชาชนมั่งมีศรีสุข ปลอดคนจน
- ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ค่าครองชีพลดต่ำลง
- คนในหมู่บ้านมีความรักความสามัคคีรักใคร่ปรองดอง
- ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และได้รับบริการอย่างทั่วถึง
- การมีคึณภาพชีวิตที่ดี ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ประชาชนได้รับการศึกษา มีความรู้ และได้รับข่าวสารต่างๆ อย่างทั่วถึง
- ประชาชนมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ขึ้นในหมู่บ้าน
ยุทธศาสตร์
- ไม่ปรากฏข้อมูล
- มีผลิตภัณฑ์ชุมชน
- ชุมชนมีกิจกรรมร่วมกัน
- มีกลุ่มกองทุนในหมู่บ้าน
- ชุมชนมีอาชีพหลักและมีที่ทำกินของตนเอง
- ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาอาชีพ
- ประชาชนขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง
- มีหน่วยงานราชการดูแลให้คำแนะนำ
- มีงบประมาณสนับสนุนจาก อปท.
- มีการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา
- ราคาผลผลิตตกต่ำไม่แน่นอน
- ศัตรูรบกวนทำลายพืชผลเสียหาย
- ปริมาณผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร
- ต้นทุนในการผลิตสูงมาก
- ตลาดรองรับมีน้อยไม่แน่นอน
- งบประมาณไม่เพียงพอในการพัฒนา
- ชุมชนมีการพัฒนาอาชีพและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแบบพอเพียง
ยุทธศาสตร์
- พัฒนาผู้นำ/กลุ่ม/องค์กรภาคประชาชน ให้มีศักยภาพ มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนมากยิ่งขึ้น
- มีการจัดทำแผนชุมชน และปรับปรุงโดยผ่านกระบวนการเวทีประชาคมหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา และพัฒนาสู่อำเภอสู่เป้าประสงค์
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคประชาชนน้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตทุกครัวเรือน
- เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ขนาดกลางและมีจำนวนประชากรมาก
- มีถนนสายหลักผ่านกลางอำเภอทำให้การคมนาคมสะดวก เหมาะการการทำการค้า
- ในอำเภอมีผู้ที่หลากหลายด้านต่างๆ และมีความเข้มแข็ง เช่น ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. และกลุ่มสตรี
- มีความไว้เนื้อเชื่อใจในตัวผู้นำ
- ประชาชนมีการใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นกว่าเดิม
- ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากท้องถิ่น
- มีกลุ่มองค์กรที่เข้มแข็ง
- มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- มีพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว มะม่วง และสัปปะรด เป็นต้น
- มีระบบชลประมานในการทำการเกษตร
- มีธรรมชาติและประเพณีที่หลากหลาย
- มีประชากรสุกรมากที่สุดในประเทศไทย
- มีสถานที่ท่องเที่ยว เช่น อุทยานแห่งชาติไทยประจัน
- มีแผนชุมชนครบทุกหมู่บ้าน
- น้ำเสียจากฟาร์มสุกร มลพิษทางอากาศ
- ขาดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
- ประชาชนยังขาดการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม
- การรวมยังไม่ค่อยยั่งยืน
- พื้นที่ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ทำให้น้ำไม่เพียงพอ
- ขาดแหล่งน้ำ
- เป็นพื้นที่แห้งแล้ง
- ได้รับผลกระทบจากโรงงาน
- ถนนชำรุดเสียหาย เนื่องจากมีรถบรรทุกสิบล้อวิ่งมาก
- มีการตัดไม้ทำลายป่าจากผู้มีอิทธิพล
- ขาดแหล่งกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกวิธี
- ขาดการวางผังเมืองชุมชนที่ชัดเจน
- เกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในการทำเกษตรที่ถูกต้อง
- ประชากรวัยแรงงานมีการเคลื่อนย้ายแรงงานไปทำงานต่างถิ่น
- การประสานงานล่าช้าและขาดการบูรณาการในการทำงาน
- การป้องกันและกจัดยาเสพติดยังไม่เข้มงวดเท่าที่ควร
- ปัญหาแรงงานต่างด้าว
- ได้รับงบประมาณจากรัฐบาล เข่น SML ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข มีโอกาสนำมาสร้างและพัฒนาให้หมู่บ้านมีความเจริญ
- มีแหล่งเงินทุนในการกู้ยืมไปประกอบอาชีพ
- เป็นอำเภอที่ใกล้กรุงเทพฯ มีการคมนาคมสะดวก
- ใกล้ตลาดกลางรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร
- มีแหล่งน้ำชลประทาน มีการผลิตพืชผลทางการเกษตรที่หลากหลาย และมีแหล่งท่องเที่ยวที่ควรส่งเสริมในเชิงอนุรักษ์
- สภาวะค่าครองชีพสูง
- สินค้าที่เป็นต้นทุนการเกษตรมีราคาสูง เช่น น้ำมัน ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง
- ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาต่ำทำให้บางครั้งขาดทุน
- เกษตรกรขาดที่ดินทำกิน
- งบประมาณไม่เพียงพอในการแก้ัญหาในระดับพื้นที่
- มีแหล่งยั่วยุทำให้ต้องจ่ายเงินมาก
- เศรษฐกิจในหมู่บ้านดี ประชาชนมั่งมีศรีสุข ปลอดคนจน
- ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ค่าครองชีพลดต่่ำลง
- คนในหมู่บ้านมีความรักสามัคคีรักใคร่ปรองดอง
- ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ประชาชนมีสุขภาพดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและได้รับการบริการอย่างทั่วถึง
ที่มา
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี. (2553). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฎิบัติการกลไกบูรณาการแผนชุมชนระดับจังหวัด. 14 มิ.ย.2553 ณ ห้องประชุมอำเภอเมืองราชบุรี.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น