วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ชุมชนคนมอญในอดีตจากบ้านโป่ง-บ้านโพธาราม


ชาวมอญในอดีตนี้อยู่ริมแม่น้ำแม่กลองมาก เฉพาะบริเวณสองฝั่งแม่น้ำตั้งแต่บ้านโป่งถึงบ้านโพธาราม

ชาวมอญเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัดมาก จึงสร้างวัดขึ้นในชุมชนของตน แต่ละหมู่บ้านจึงมีวัดมอญตั้งเรียงรายอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง  ตั้งแต่บ้านโป่งถึงบ้านโพธารามให้เห็นอยู่จนปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าวัดมอญเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเริ่มสวดภาษาไทยมากขึ้น แต่พระและชาวบ้านยังคงพูดภาษามอญได้  มีคัมภีร์ใบลานภาษามอญ และการดำรงประเพณีหลายอย่างอยู่ให้เห็นวัฒนธรรมมอญ และแสดงถึงความพยายามในการดำรงรักษา สืบสานวัฒนธรรมมอญอยู่

บริเวณย่านชุมชนมอญ ได้แก่ บริเวณรอบๆ วัดมอญทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลองตั้งแต่บ้านโป่งถึงโพธาราม

ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง (ฝั่งซ้าย)
จากเหนือลงใต้ ได้แก่ มอญบริเวณรอบๆ วัดบ้านโป่ง วัดตาผา วัดใหญ่นครชุมน์  วัดหัวหิน  วัดบ้านหม้อ วัดป่าไผ่ วัดคงคาราม วัดไทรอารีรักษื  วัดโพธาราม และวัดโชค  เป็นต้น  วัดเหล่านี้ส่วนใหญ่ตั้งมาก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ.2538 มีมอญบริเวณวัดคงคาราม ซึ่งผู้คนอยู่หนาแน่นขึ้น ได้อพยพเข้าไปหาที่ทำกินใหม่ตอนใน เข้าไปทางทิศตะวันออก โดยมีผู้นำคือ พระนิโครรธาภิโยค ผู้ว่าราชการเมืองไทรโยค และสร้างวัดของชุมชนขึ้น คือ วัดดอนกระเบื้อง

ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง (ฝั่งขวา)
จากเหนือลงใต้ ได้แก่ กลุ่มมอญบริเวณ วัดตาล วัดโพธิ์ (วัดโพธิ์โสภาราม) วัดท่าข้าม (วัดมะขาม) วัดม่วง วัดบัวงาม วัดเกาะ วัดม่วงราษฎร์ศรัทธาธรรม และวัดเฉลิมอาสน์ เป็นต้น วัดเหล่านี้ก็เช่นเดียวกัน ตั้งมาก่อนรัชกาลที่  5 เช่นกัน ยกเว้นวัดบัวงาม เพิ่งแยกจากวัดม่วงไปตั้งวัดใหม่ในปี พ.ศ.2473

วัดมอญ 2-3 วัดตอนใต้ในเขตบ้านโพธาราม ต่อมาได้ขยายชุมชนเข้าไปในทางตะวันตกบริเวณบ้านชำแระ ตั้งวัดของชุมชนขึ้นคือ วัดชัยรัตน์ ในปี พ.ศ.2443

ชาวมอญได้อพยพมาอยู่บริเวณนี้ ตั้งแต่สมัยอยุธยา แล้วอพยพมาในสมัยธนบุรีอีก และอพยพมาจำนวนมากในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์



อ่านเพิ่มเติม
ที่มาข้อมูล
สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์. (2554). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลุ่มน้ำแม่กลอง บ้านโป่ง-บ้านเจ็ดเสมียน. ราชบุรี : พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง.(หน้า 22-23)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น