วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

ชุมชนคนเขมรในอดีตจากบ้านโป่ง-บ้านเจ็ดเสมียน



ชุมชนเขมรบริเวณบ้านโป่งถึงเจ็ดเสมียนนี้ จะปรากฏอยู่ตอนล่างทั้งสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ปัจจุบันเป็นบริเวณที่มีคนไทยปะปนอยู่ด้วย แต่ใอดีตเป็นชุมชนเขมรเป็นส่วนใหญ่ ที่มาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ของคนไทยซึ่งตอนนั้นยังมีคนไทยอยู่ไม่มากนัก แรกเริ่มคนเขมรทำบุญที่สัดไทย และค่อยสร้างวัดเองร่วมกับคนไทยในภายหลัง

ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง (ฝั่งซ้าย)
จากเหนือลงใต้ ชุมชนเขมร ได้แก่ บริเวณเหนือวัดสนามชัย (พ.ศ.2250 สมัยอยุธยา) ลงไปถึงบริเวณใต้วัดเจ็ดเสมียน (พ.ศ.2300 สมัยอยุธยา)

ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง (ฝั่งขวา)
จากเหนือลงใต้ ชุมชนเขมร ได้แก่  บริเวณวัดบางโตนด (พ.ศ.2420 รัชกาลที่ 5) ลงไปถึงวัดสมถะ (พ.ศ.2414 รัชกาลที่ 5)

ทั้งสองฝั่งอยู่ตรงข้ามกัน และด้านตะวันตกของวัดบางโตนดเข้าไป เคยเป็นสมรภูมิรบในสงครามไทยรบพม่าในสมัยธนบุรี (ศึกบางแก้ว) และในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 สมรภูมิบริเวณนี้ใกล้เขางู เขาพระ เหนือเมืองราชบุรี

ชาวเขมรนี้รุ่นปู่ย่าตายายล้วนพูดภาษาเขมร และนอกจากจะนับถือศาสนาพุทธแล้ว ชาวเขมรยังนับถือผี ดังปรากฏศาลเก่าแก่ บริเวณตำบลเจ็ดเสมียนอยู่ 3 ศาลให้เคารพสักการะคือ ศาลตาประกำ ศาลตาราม และศาลเจ้าแม่ทับทิม โดยเฉพาะศาลตาประกำนี้ ชาวบ้านเล่าว่าเป็นศาลที่สมัยก่อนช้างเดินผ่านหรือล่องน้ำมาจะต้องแวะทำความเคารพก่อนจึงจะเดินทางต่อไป

เขมรบริเวณนี้ มิใช่กลุ่มเขมรสุรินทร์ เพราะพูดกันไม่เข้าใจนัก เป็นคนละกลุ่ม ชาวบ้านบางคนมักแบ่งเขมรในเมืองราชบุรีบริเวณนี้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเขมรโบราณ (หรือเขมรเก่า) กับกลุ่มเขมร ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้


**********************************************

ที่มาข้อมูล
สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์. (2554). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลุ่มน้ำแม่กลอง บ้านโป่ง-บ้านเจ็ดเสมียน. ราชบุรี : พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง.(หน้า 39-40)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น